Page 44 - Kaset Thai International Sugar Corporation Public Company Limited : Annual Report 2014 TH
P. 44





• การขยายตัวของเศรษฐกิจในทวีปเอเซีย
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของทวีปเอเซีย โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียน ส่ง
ผลให้การบริโภคนำ้าตาลทรายในภูมิภาคมีปริมาณเพิ่มขึ้นจนทำาให้มีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นโดย ปัจจุบันทวีปเอเซียสามารถ
ผลิตนำ้าตาลทรายได้ 60 – 70 ล้านตันต่อปี อย่างไรก็ดี แม้ว่าทวีปเอเซียจะมีกำาลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการบริโภค
เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่า ส่งผลให้ทวีปเอเซียจะต้องนำาเข้านำ้าตาลทรายกว่า 20.0 ล้านตันต่อปี



• การเพิ่มการลงทุนของกองทุนในตลาดสินค้าล่วงหน้า (hedge fund)
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนต่างๆ มีการเพิ่มการลงทุนและเก็งกำาไรในสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ด้าน
สินค้าเกษตรมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าเกษตรที่กองทุนให้ความสนใจก็คือนำ้าตาลทราย ราคานำ้าตาลทรายจึงผันผวนมากขึ้น



(2) อุปสงค์ และอุปทานของนำ้าตาลทราย
ปีการผลิต 2556/2557 คาดการณ์ผลผลิตนำ้าตาลทั่วโลกประมาณ 182 ล้านตัน ลดลงจาก 184.9 ล้านตันในปีการผลิต
2555/2556 อัตราการบริโภคประมาณ 173.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น โดยปีที่แล้วบริโภค 170.9 ล้านตัน อัตราการบริโภคสูงขึ้น
1.5% ตลาดโลกรับรู้การมีนำ้าตาลส่วนเกินติดต่อกันถึง 4 ปี ทำาให้ราคานำ้าตาลอ่อนตัวลงต่อเนื่อง ราคานำ้าตาลปัจจุบันมีผล
ทำาให้ชาวไร่เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น และทำาให้การปลูกอ้อยในบางประเทศลดลง ท้ายที่สุด คาดการณ์ผลผลิตนำ้าตาลทั่วโลกที่
181.9 ล้านตันแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่คาดการณ์ว่าการบริโภคจะเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 177.4 ล้านตัน ภูมิภาคที่
สามารถผลิตนำ้าตาลทรายได้มากที่สุดในโลก คือ ทวีปเอเชีย ซึ่งในปีการผลิต 2556/2557 มีปริมาณการผลิตประมาณ 66.2
ล้านตัน หรือร้อยละ 36.4 ของปริมาณนำ้าตาลทรายที่ผลิตได้ของโลก โดยรองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ซึ่งสามารถผลิตนำ้าตาล
ทรายได้ประมาณ 45.7 ล้านตัน หรือร้อยละ 25.1 ของปริมาณนำ้าตาลทรายที่ผลิตได้ของโลก

ที่มา: LMC International, Sugar and Sweeteners Market Report, Fourth Quarter 2014


• ภาวะอุตสาหกรรมภายในประเทศ
อุตสาหกรรมอ้อยและนำ้าตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำาคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเกี่ยวข้องกับเกษตรกร
จำานวนมาก รัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติอ้อยและนำ้าตาลทราย พ.ศ. 2527 (“พ.ร.บ. อ้อยและนำ้าตาลทราย”) และประกาศใช้
เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2527 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ คุ้มครองรักษา
ผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิตและจัดจำาหน่าย มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมแก่โรงงานและผู้บริโภค มีการกำากับควบคุม
ดูแลอย่างเป็นระบบ และการจัดการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับชาวไร่ โรงงานและผู้บริโภค ส่งผลให้ปริมาณการผลิตนำ้าตาล
ทรายโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี
ในปีการผลิต 2556/2557 ประเทศไทยสามารถผลิตนำ้าตาลทรายได้ทั้งหมด 11.33 ล้านตัน ในขณะที่มีการบริโภค 2.4 ล้าน
ตัน ซึ่งถือว่าสามารถผลิตนำ้าตาลทรายได้เกินอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศมากนำ้าตาลทรายเหลือจึงส่งจำาหน่ายไปต่างประเทศ
ในปีการผลิต 2556/2557 ประเทศไทยมีการส่งออกนำ้าตาลทรายประมาณ 8.93 ล้านตัน ส่วนราคาจำาหน่ายนำ้าตาลภายในประเทศ
มีการควบคุมโดยกระทรวงพาณิชย์ โดยประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่องการกำาหนดราคาและหลัก
เกณฑ์เงื่อนไขในการจัดจำาหน่ายนำ้าตาลทรายทุกปี
























42
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49