Page 56 - Kaset Thai International Sugar Corporation Public Company Limited : Annual Report 2014 TH
P. 56






ปัจจุบันบริษัทฯส่งออกน�้าตาลทรายมากกว่าร้อยละ 60.0 ของยอดขายทั้งหมด ซึ่งประเทศที่บริษัทฯ ส่งออกหลัก คือ ประเทศญี่ปุ่น
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงมาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถใน
การแข่งขันของบริษัทฯ และราคาขายน�้าตาลทรายของบริษัทฯ ในตลาดส่งออกได้




นอกจากนี้ตามข้อตกลงเขตเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ซึ่งจะบังคับใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.
2558 ประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, เมียนม่าร์, กัมพูชา และ
บรูไน จะมีการส่งเสริมการค้าขายระหว่างประเทศสมาชิก ลดขั้นตอน พิธีการ ในการน�าเข้าสินค้า ตลอดจนปรับลดหรือยกเลิก
ภาษีน�าเข้าของสินค้าจากประเทศสมาชิก ซึ่งสินค้าน�้าตาลก็เป็นสินค้าหนึ่งที่มีการเจรจากันระหว่างประเทศสมาชิกและมีการปรับปรุง
ข้อตกลงอย่างต่อเนื่อง



การปรับปรุงข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับสินค้าน�้าตาล จะมีผลท�าให้การส่งออกน�้าตาลของบริษัทฯไปยังประเทศ
เหล่านี้จะได้รับผลกระทบได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสุทธิ (Net Exporter) ของสินค้าน�้าตาลแต่เพียง
ประเทศเดียวในเขตเศรษฐกิจอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆล้วนแต่เป็นประเทศผู้น�าเข้าสุทธิ (Net Importer) ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่า
การบังคับใช้มาตรการเปิดตลาดการค้า ตามข้อตกลงเขตเศรษฐกิจอาเซียน มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทฯ มากขึ้น



3. ความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบอ้อยให้ตรงกับปริมาณและคุณภาพ

ที่ต้องการ

อ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน�้าตาลทรายและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ของบริษัทฯ หากผลผลิตอ้อยมีปริมาณต�่า จึงมี
ความเสี่ยงต่อบริษัทฯ โดยอาจไม่สามารถผลิตน�้าตาลทรายได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการจัดจ�าหน่ายได้ ในด้านคุณภาพของอ้อย
หรือค่าความหวานของอ้อยถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน�้าตาลทรายที่ผลิตได้ เนื่องจากเมื่อความหวานของอ้อยลดลงจะต้องใช้อ้อย
ในปริมาณมากในการผลิตน�้าตาลทรายซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทฯมีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อปริมาณน�้าตาลทรายที่ต้องการ




ปลายปี พ.ศ. 2556 ต่อเนื่องมาจนปีพ.ศ. 2557 ประเทศไทยประสบกับความแห้งแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ
แปรปรวนจึงอาจท�าให้อ้อยมีผลผลิตต่อไร่ต�่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากการที่ปริมาณน�้าฝนไม่เพียงซึ่งพออาจส่งผลต่อการเติบโตของ
อ้อยท�าให้คุณภาพอ้อยต�่ากว่าที่ควรและในปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมามีภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นเวลายาวนานท�าให้ผลผลิตอ้อยในปี
การผลิต 2556/2557 มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ดีส�าหรับปีการผลิต 2557/2558นั้นยังไม่สามารถระบุสภาพภูมิอากาศที่แน่นอนได้
ประกอบกับโรงงานน�้าตาลหลายแห่งมีการเพิ่มก�าลังหีบอ้อยต่อวันท�าให้ความต้องการวัตถุดิบอ้อยของแต่ละโรงงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่
สภาพอ้อยโดยทั่วไปผลผลิตต่อไร่ลดน้อยลงและพื้นที่เพาะปลูกอ้อยโดยรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นจึงมีผลกระทบต่อปริมาณอ้อยที่แต่ละโรงงานหีบ
จากการที่ปริมาณอ้อยน้อยกว่าความต้องการของโรงงานนี้จะท�าให้การแย่งชิงวัตถุดิบอ้อยรุนแรงยิ่งขึ้นจึงอาจกระทบต่อต้นทุนการ
ผลิตและการขายน�้าตาลทั้งในประเทศและส่งออกของบริษัทฯ ได้



ประเทศไทยคาดการณ์ปริมาณอ้อยในปีการผลิต 2557/2558โดยฝ่ายชาวไร่อ้อยและโรงงานน�้าตาลต่าง ๆ ว่าน่าจะมีผลผลิต
ไม่ถึง 100 ล้านตันอ้อย ในขณะที่ปีการผลิต 2556/2557 ประเทศไทยหีบอ้อยได้ถึงกว่า103 ล้านตันอ้อย ดังนั้นการที่ปริมาณอ้อย
โดยรวมลดน้อยลงจึงอาจท�าให้มีปริมาณวัตถุดิบอ้อยน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ซึ่งอาจส่งผลต่อก�าไรรวมของบริษัทฯ ประกอบกับระบบ
แบ่งปันผลประโยชน์แบบ 70:30 ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอ้อยและน�้าตาลทรายของประเทศไทยจะท�าให้ราคาอ้อยลดต�่าลงหากราคาน�้าตาล
ในตลาดโลกลดต�่าลงดังนั้นหากประเทศไทยผลิตน�้าตาลได้น้อยลงกว่าปีการผลิต 2556/2557จะท�าให้ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ ด้วย
แต่จากการคาดการณ์ปริมาณอ้อยของประเทศไทยทีจะมีไม่ถึง 100 ล้านตันดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้ราคาน�้าตาลในตลาดโลกขยับขึ้น

จากการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ มีการป้องกันความเสี่ยงโดยการสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนของวัตถุดิบอ้อย
โดยการรับสัญญาจากชาวไร่อ้อยเพิ่มเติมโดยเฉพาะชาวไร่อ้อยสัญญาตันเขตนอก (เขตที่อยู่ไกลจากโรงงาน)ซึ่งเป็นชาวไร่อ้อยที่
ส่งอ้อยหลายโรงงานให้ส่งอ้อยในปีการผลิตนี้ให้กับโรงงานน�้าตาลในกลุ่มบริษัทฯมากขึ้นร่วมไปกับการลดผลกระทบของความเสี่ยง


54
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61